วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การลงสี และการใช้ Knife Tool

หลังจากได้เส้นแล้ว เราก็มาลงสีกันครับ


1. หลังจากได้เส้นแล้ว เราจะทำการรวมวัตถุทั้งหมดให้เป็นชิ้นเดียวกันครับ
โดยไปที่ Pathfinder  แล้วเลือกอันแรก ดังรูปครับ






2. หลังจากได้วัตถุเป็นชิ้นเดียวกันแล้ว ก็สร้างพื้นหลังขึ้นมาอันหนึ่ง ให้สีแตกต่างจากลายเส้นของเรา
แล้วส่งไปไว้ด้านหลัง ด้วยคีย์ Ctrl + Shift + [ ครับ




3. จากนั้นไปที่ Path Finder อีกครั้ง แล้วเลือก Divide ครับ ดังภาพ




4. แล้วก็ทำการคลิกขวาบนออปเจค เลือก Ungroup ครับ



5. ส่วนที่มีพื้นที่ล้อมรอบ เราสามารถ คลิกเลือกเป็นชิ้นๆได้ครับ
เคล็ดลับคือ ต้องใช้เครื่องมือ Selection Tool (v) กดบนพื้นที่ว่างรอบๆงานของเราก่อน แล้วใช้เครื่องมือ
Direct Selection (A) เพื่อทำการลองเลือกวัตถุครับ จะได้รู้ว่า ชิ้นใหนแยกเป็นชิ้นใหนบ้าง




6. ส่วนพื้นที่เปิดๆ จากเส้นที่ไม่ล้อมรอบแบบนี้ เราใช้เครื่องมือ Knife เพื่อทำการตัดแบ่งครับ
โดยเครื่องมือนี้จะอยู่ที่แถบเครื่องมือที่เป็นยางลบครับ





7. จากนั้นทำการตัดเพื่อแบ่งชิ้นงานออกเป็นชิ้นๆ เพื่อเลือกลงสี ตามความต้องการครับ





8. จากนั้น ก็ทำการเลือกวัตถุแต่ละชิ้น แล้วเปลี่ยนสีตามความต้องการครับ
โดยเคล็ดลับอยู่ที่ เมื่อทำการตัดวัตถุได้แต่ละชิ้นแล้ว ต้องกดเครื่องมือ Selection (V) แล้วกดบนพื้นที่ว่าง
เพื่อทำการ UnSelection วัตถุทั้งหมด แล้วค่อยใช้เครื่องมือ Direct Selection Tool (A) เลือกวัตถุทีละชิ้นครับ




ขอให้สนุก กับการสร้างภาพเว็คเตอร์ครับ ^_^

เขียนการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Live Paint


เครื่องมือ Live Paint เป็นเครื่องมือที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้นครับ 5555
มีประโยชน์ทั้งการลงสือ และการดรอวอิ้ง
หากใช้ Live Paint ให้เป็นก็จะช่วยให้เราทำงานเวคเตอร์ได้เร็วขึ้นอย่างมากครับ

1.โดยใช้เครื่องมือดินสอ (n) ทำการวาด
โดยวาดให้เลยๆ เกยๆกันหน่อยก็ได้ครับ เพราะเราสามารถลบออกภายหลังด้วยคำสั่ง Live Paint 




2.จากนั้น เลือกช่องดร็อปดาวน์ไกล้ๆเส้นสโตรค (ต้องเลือกเส้นที่เราวาดทั้งหมดก่อนนะครับ (Ctrl + A)




3.เส้นที่เกยๆกันพวกนี้ เราจะใช้คำสั่ง Live Paint จัดการครับ ซึ่งในขึั้นตอนนี้ ถ้าอยากย้ายเส้น หรือดัดโค้งก็สามารถทำได้ครับ






4. เลือกเส้นทั้งหมด แล้วไปที่ Object >Expanded Appearance เพื่อทำให้เส้นสโตรคกลายเป็นฟิลครับ ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้ จะไม่สามารถดัดเส้นหรือ เปลี่ยนขนาดเส้นได้ครับ







5.ขณะที่เส้นทุกเส้นยังถูกเลือกอยู่ ไปที่ Object > Live Paint > Make เพื่อจัดการเส้นที่มันเกยๆกันครับ





6.หลังจากนั้นใช้คำสั่ง Live Paint อีกครั้ง แล้วใช้เลือก Expand





7.แล้วทำการคลิกขวาชิ้นงาน แล้วเลือก Ungroup ครับ (บางครั้งถ้าวัตถุยังถูก Group กันอยู่ ก็ให้ Ungroup ซ้ำอีกครั้งครับ)



8. เมื่อทำเสร็จเราจะสามารถลบเส้นที่เกยๆกันออกได้ครับ



9. แถ่น แท้นนนนนน เราก็จะได้ชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยสวยงาม ด้วยความรวดเร็วครับ









..ขอให้สนุกกับการสร้างภาพเว็คเตอร์ครับ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Flatten Transparency

กฏเหล็กข้อหนึ่ง ของการส่งเว็คเตอร์เข้าไปขายในไมโครสต๊อกก็คือ ห้ามใช้ภาพวัตถุ ที่มีความโปร่งแสง (Trasparency) เพื่อหลีกเลี่ยงการตีกลับงาน เราจึงต้องแปลงไฟล์ของเราที่ทำให้มีความโปร่งแสงนั้น
กลายเป็นภาพพื้นหลัง ที่มีความเข้มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ซะก่อนครับ


1. สร้างไฟล์ขึ้นมา ให้เป็นคนละสีครับ



2. กำหนดค่าความเข้มจางของสี ไปที่ Window > Transparency

คลิกเลือกวัตถุสีน้ำเงิน ลดค่า Opacity ให้เหลือ 50 เปอร์เซนต์ครับ
เราก็จะได้ไฟล์ที่มีวัตถุ มีความโปร่งแสง ที่เป็นที่ปฏิเสธของทาง ไมโครสต๊อกครับ




3. ดังนั้น เราจึงต้องแปลงให้เป็นสีพื้น ที่มีความเข้มข้น 100 เปอร์เซนต์ โดยไม่ทำให้สีที่เราต้องการเพี้ยนไปครับ

ไปที่ Object > Flatten Transparency






4. จะมีหน้าต่าง ขึ้นมาให้ตั้งค่าตามวงกลมสีแดงครับ แล้วกด OK





5. หลังจากนั้นเราก็จะได้ วัตถุ 3 ชิ้น ที่มีค่าความเข้มข้น (Transparency) 100 เปอร์เซนต์ ตามเสป็ค ของทางไมโครสต๊อคครับ (ภาพตัวอย่าง ผมอันกรุ๊ปแล้วลองลากออกมาเป็นชิ้นๆให้ดูเฉยๆครับ)




ขอให้สนุกกับการขายภาพเว็คเตอร์ครับ ^____^

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การทำงานกับ สโตรค และ ฟิล

การทำงานกับเส้นสโตรค เป็นข้อสำคัญอย่างหนึ่งก่อนทำการส่งขึ้นไปใน ไมโครสต๊อค

โดยทางไมโครสต๊อค จะไม่รับภาพที่ยังไม่ได้แปลงเส้น ให้กลายเป็นพื้นหลัง (Fill) เสียก่อน

เหตุผลก็เพราะว่า เวลาย่อขยายภาพนั้น จะไม่ทำให้ส่วนที่เป็นเส้นนั้นลดขนาด หรือผิดสัดส่วนไป

ลองหัดทำการแปลงเส้น เป็นพื้นหลังกันครับ




1.เปิดการทำงานขึ้นมาใหม่ ใช้เครื่องมือสร้างวัตถุขึ้นมาชิ้นหนึ่ง กำหนดเส้นสโตรคให้หนาๆหน่อย เพื่อให้สังเกตุง่ายครับ







2.จากนั้นทำงานแปลงเว้นให้เป็นภาพพื้นหลัง เพื่อเวลาย่อยขยายจะได้ไม่เสียสัดส่วนครับ

ไปที่ object > Expand..






3. จะมีหน้าต่าง expand ขึ้นมา ควรติ๊กดังรูปครับ แล้วกด OK




4. จากนั้น ทำการ Ungroup เพื่อทำการแยกตัวเส้น (ที่เราแปลงเป็นสีพื้นแล้ว) กับพื้นหลัง






5. เมื่ออันกรุ๊ปแล้ว เราจะได้วัตถุ สองชิ้น ซึ่งจะย่อ ขยายอย่างไรก็ไม่ผิดสัดส่วนครับ

โดยถ้ายังไม่ได้ทำการแปลงเป็นพื้นหลังแล้ว การย่อยขยายนั้นจะทำให้เส้นขอบและตัวพื้นสี ผิดสัดส่วนครับ ปละแน่นอน มันจะทำให้ทางไมโครสต๊อกปฏิเสธวัตถุที่ยังไม่ได้แปลงเว้นสโตรคครับ



6.ลองทำการเพิ่มแสงเงา ร่วมกันการทำงาน Arrange

โดยการเลือกที่วัตถุ แล้วคลิกขวา เลือก Arrange ลองเลือกดูครับ ว่าอยากให้ชิ้นใหนอยู่บนสุด ชิ้นใหนอยู่ล่างสุด

คำสั่ง Arrange นั้นเป็นคำสั่งที่ช่วยในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว และในการทำงานแต่ละชิ้น จะมีการทำการเกี่ยวกับฟังค์ชั่นนี้ค่อนข้างบ่อย ควรหัดให้ชิน และจำคีย์ลัดไว้ใช้ครับ รับรองเป็นประโยชน์แน่ๆ


สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สร้างใบหน้าตัวการ์ตูนแบบเบสิคๆ





 
 วันนี้เราจะมาลองทำแบบเบสิคๆกันบ้าง

เผื่ออยากลองฝึกใช้เครื่องมือให้คล่องครับ
 
1.สร้างวัตุ โดยใช้เครื่องมือปากกา (p) เป็นรูปร่างดังภาพครับ


2.สร้างวัตถุทรงกลม (คีย์ลัด L ) สร้างวงกลมสีขาว และสีฟ้า



3.ในวงกลมสีฟ้า ใช้การไล่สีแบบการเดี้ยน (คีย์ลัด > ) โดยเลือกการไล่สีแบบ Radial (ถ้าหาไม่เจอ ให้เปิดพาเนล การเดียนมาใช้ครับ อยู่ใน Window > Gradient )





4.สร้างสีน้ำตาลเข้ม และสีขาวตามภาพครับ เพื่อตกแต่งและดูมีแววตา

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พาธเปิด กับ พาธปิด

การสร้างวัตถุในโปรแกรมอิลลัส มีความสำคัญต่อการส่งภาพเข้าไปในไมโครสต๊คมากครับ
หลักเกณฑ์การตัดสินแรกคือ จะต้องเป็นวัตถุที่เส้นพาธไม่เปิด

ดังนั้นการสร้างวัตถุให้เป็นพาธเปิดเสมอ ก็จะทำให้เราสามารถส่งภาพเวคเตอร์ของเราไปขายได้โดยไม่โดนตีกลับครับ

Cartoon Vector Tutorial Part 2

เขียนโดดๆไปหน่อย ถ้างงตรงใหนโพสถามไว้นะครับ



1. วาดเว้นรอบรูป ส่วนที่เป็นสีดำทั้งหมด โดยปิดพาธทั้งหมด







2. เมื่อเสร็จแล้วจะได้ วัตถุที่เป็นรูปร่างดังนี้ครับ







3.เพิ่มรายละเอียดสีผิว ผม เสื้อผ้า เครื่องประดับ โดยลงสีคร่าวๆก่อนโดยไม่ลงแสงเงา




วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Cartoon Vector Tutorial Part 1

1.เปิดโปรแกรมขึ้นมา ซักขนาด A4 ก็ได้แล้วแต่ความถนัด
ไปที่ file > Place เพื่อวางรูปที่เราได้วาดไว้แล้วมาลงในโปรแกรม อิลลัสเตรเตอร์








2.ล๊อคเลย์เยอร์ที่เอารูปมาลง สร้างเลย์เยอร์ใหม่ เพื่อทำงาน






3.ใช้เครื่องมือปากกา เพื่อวาดรูปรอบตัวการ์ตูน






4.วาดเส้นให้รอบตัวการ์ตูน กด Shift + X เพื่อเช็คความเรียบร้อย




5.สร้างวัคถุ เพื่อเจาะช่องระหว่างลำตัว ควรใช้สีให้แตกต่างกับเส้นรอบนอก






6. วัตถุที่จะโดนเจาะ ต้องอยู่ข้างใต้เสมอ









7.กด ทริม ในพาธไฟด์เดอร์ เพื่อทำการเจาะวัตถุ